วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

ดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร[2] ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7

ลักษณะภูมิอากาศ

มีลักษณะอากาศตั้งแต่แบบร้อนชื้นบริเวณเชิงเขาจนถึงแบบมรสุมเขตอบอุ่นบริเวณยอดเขา


พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า







ดอยอ่างขาง

         


          ลมหนาวมาแล้ว ... ถึงเวลาออกไปโลดแล่นสัมผัสกับอากาศเย็น ๆ กันซะหน่อย ^^ และวันนี้กระปุกดอทคอมจะพานักเดินทางไปท้าทายความหนาวเย็นไกลถึง "เชียงใหม่" ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หรือที่หลายคนเรียกว่า ดอยอ่างขาง กันค่ะ ใครเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมแล้ว ก็ตามเราเข้าไปเลยค่ะ...

          สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะ 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ให้เขาช่วยตัวเอง" เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว ที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน



 ประวัติ...ดอยอ่างขาง

          โดยเรื่องกำเนิดของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แห่งนี้ เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร

          จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่า ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง

          จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"

          "อ่างขางในอดีตวันนั้นสวยมากด้วยดอกฝิ่นและภูมิประเทศ เราได้เห็นต้นท้อ แอ๊ปเปิ้ลป่า และทราบว่าอากาศหนาวเราได้คุยกับผู้ที่ไปตั้งร้านขายของ ซื้อฝิ่นเขาขึ้นมาอีกทางหนึ่ง ห่างจากค่ายทหารจีนโดยที่ชาวเขาส่วนมากอพยพไปที่อื่น อ่างขางจึงมีที่เหลือให้หญ้าคาขึ้นอยู่มาก ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้นเมื่อ 30 ปี มานี้ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ทำวิจัยได้"   ม.จ. ภีศเดช รัชนี กล่าว

          โดยคำว่า "อ่างขาง" ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง